***สำหรับคนน่ารักทุกคนและคนที่อยากจะน่ารัก***

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550

การสร้างสื่อการเรียนการสอน

หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเรียนการสอน
........1.1 ความหมาย ประเภท ของสื่อการเรียนการสอน
ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนและผู้เรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ดำเนินไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
........1.2 คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสื่อการสอนที่มีบทบาทในการทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี แม้สื่อการสอนจะมีความสำคัญและมีประโยชน์มาก แต่ก็ต้องอาศัยเทคนิคในการใช้สื่อการสอนด้วย
........1.3 หลักการเลือกและการใช้สื่อการเรียนการสอน
หลักการใช้สื่อการสอน การที่ผู้สอนจะนำสื่อการสอนมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์นั้น มีหลักการที่ผู้สอนควรมีความเข้าใจในการใช้สื่อการสอน

หน่วยที่ 2 จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อการเรียนการสอน
........2.1 จิตวิทยาการรับรู้
การรับรู้ หมายถึง การรู้สึกสัมผัสที่ได้รับการตีความให้เกิดความหมายแล้ว เช่นในขณะนี้ เราอยู่ในภาวะการรู้สึก(Conscious) คือลืมตาตื่นอยู่ ในทันใดนั้น เรารู้สึกได้ยินเสียงดังปังมาแต่ไกล(การรู้สึกสัมผัส-Sensation) แต่เราไม่รู้ความหมายคือไม่รู้ว่าเป็นเสียงอะไร เราจึงยังไม่เกิดการรับรู้ แต่ครู่ต่อมามีคนบอกว่าเป็นเสียงระเบิดของยางรถยนต์ เราจึงเกิดการรู้ความหมายของการรู้สึกสัมผัสนั้น ดังนี้เรียกว่าเราเกิดการรับรู้
........2.2 จิตวิทยาการเรียนรู้
การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ค่อนข้างถาวร และพฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน ไม่ใช่ ผลจากการตอบสนองจากธรรมชาติ สัญชาตญาณ อุบัติเหตุ หรือความบังเอิญ
........2.3 จิตวิทยาพัฒนาการ
จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental psychology) จะกล่าวถึงพัฒนาของบุคคลแต่ละวัยในด้านต่างๆ หรือความพร้อมของผู้เรียน ซึ่งช่วยให้การจัดการเรียน การอบรมสั่งสอนมีความสอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียนยิ่งขึ้น

หน่วยที่ 3 การสื่อสาร


........3.1 ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร
หมายถึงการโอนถ่ายหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างต้นทางและปลายทางโดยผ่านทางอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์หรือ คอมพิวเตอร์
อุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูล ผู้รับ(Receive) หรืออุปกรณ์รับข้อมูล ผู้ส่ง(Sender) หรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมข้อมูล และอุปกรณ์รับข้อมูล ปลายทางมีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้
........3.2 รูปแบบของการสื่อสาร
โดยปกติการสื่อสารข้อมูลส่วนใหญ่จะไม่ใช่การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน ตัวอย่างเช่น การใช้โทรศัพท์ ถึงแม้ว่าจะสามารถส่งข้อมูลได้สองทิศทางพร้อมกัน แต่เวลาพูดยังต้องสลับกันพูด อีกตัวอย่างหนึ่งคือ การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งบางครั้งดูเหมือนว่าเป็นแบบสองทิศทางพร้อมกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นการส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน ซึ่งช่วงเวลาที่สลับกันนี้อาจเป็นช่วงเวลาที่เร็วมาก จึงดูเหมือนว่าเป็นการส่งข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน
........3.3 แบบจำลองของการสื่อสาร
เบอร์โล (Berlo) เป็นผู้คิดกระบวนการของการติดต่อสื่อสารไว้ในลักษณะรูปแบบจำลอง S M C R Model (Berlo 1960:40-71) อันประกอบด้วย
1. ผู้ส่ง (Source)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. ช่องทางในการส่ง (Channel)
4. ผู้รับ (Receiver)
........3.4 การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอน
1. การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารทางเดียว การให้สิ่งเร้าแก่ผู้เรียนในรูปแบบการสื่อสารทางเดียวหรือในการสื่อสารระบบวงเปิด (Open-Loop System) นี้ สามารถให้ได้โดยใช้การฉายภาพยนตร์ วีดิทัศน์ การใช้โทรทัศน์วงจรปิดในการสอนแก่ผู้เรียนจำนวนมากในห้องเรียนขนาดใหญ่
2. การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารสองทาง การให้สิ่งเร้าแก่ผู้เรียนในรูปแบบการสื่อสารสองทางหรือการสื่อสารระบบวงปิด (Closed Loop System) นี้ สามารถให้ได้โดยการใช้อุปกรณ์ประเภทเครื่องช่วยสอน (Teaching Machine) หรือการอภิปรายกันในระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน


หน่วยที่ 4 การออกแบบสื่อการเรียนการสอน


........4.1 ความหมายของการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
การออกแบบสื่อการเรียนรู้ ( Material Design ) สิ่งที่นำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ จัดหา จัดเตรียม และเลือกใช้ประกอบ การเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงหลักการ
- วัตถุประสงค์การเรียนรู้
- ลักษณะผู้เรียน ความเหมาะสมกับวัย ความสนใจ ระดับชั้น ความรู้ ทักษะ พื้นฐาน และประสบการณ์ของผู้เรียน
- รูปแบบการเรียนการสอน และการเรียนรู้
- ธรรมชาติเนื้อหาสาระการเรียนรู้ และวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม
- สภาพการเรียน
- ทรัพยากรต่าง ๆ
........4.2 วิธีระบบกับการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
หลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนที่ใช้สื่อประสมรูปแบบต่าง ๆ(Priciple and Theory of Instruction Relating to the Multimedia)ทฤษฎีระบบTHE SYSTEMS APPROACHแนวคิดเกี่ยวกับวิธีการเชิงระบบได้เกิดขึ้นมา เมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา และเข้ามามีบทบาทในการบริหารการศึกษาในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ส่วนด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา จะเน้นการประยุกต์ใช้วิธีการเชิงระบบเข้ามาประสานประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
........4.3 การสร้างแบบจำลองการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
การสร้างแบบจำลอง หรือโมเดล (Model) คือการสร้างของสิ่งหนึ่งเพื่อแทน วัตถุ กระบวนการ ความสัมพันธ์ หรือ สถานการณ์ เช่น การสร้างแบบจำลองของโครงสร้างหลังคา เพื่อให้วิศวกร สามารถคำนวณต่างๆได้ ก่อนที่จะสร้างจริง ไม่ว่าจะเป็น แบบจำลองคณิตศาสตร์ แบบจำลองแบบไม่เป็นคณิตศาสตร์ เช่น แบบจำลองการทดสอบเชิงจิตวิทยา แบบจำลองที่เป็นรูปธรรมหรือจับต้องได้ แบบจำลองที่ใช้แผนภาพ เช่น แบบจำลองการเพิ่มของจำนวนกระต่าย หรือ แบบจำลองสามมิติ


หน่วยที่ 5 การผลิตสื่อกราฟิก


........5.1 ความหมาย และคุณค่าของสื่อกราฟิก
ความหมายและคุณค่าของสื่อกราฟิกสื่อกราฟิก หมายถึง การอธิบายด้วยภาพประกอบข้อมูลต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจประเภทของสื่อกราฟิก
1.การออกแบบ สัญลักษณ์ต่างๆ
2.การออกแบบและจัดทำแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ
3.การวาดภาพอวัยวะ และระบบต่างๆของร่างกายมนุษย์ ได้แก่ ระบบกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ เป็นต้น
........5.2 การใช้สีกับสื่อการเรียนการสอน
สีถึงแม้จะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการนำไปใช้งาน แต่ลักษณะเฉพาะหรือคุณค่าเฉพาะของสีแต่ละสีย่อมจะเป็นตัวแทนของอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ในวัตถุที่มีสีปรากฏขึ้นในตัว เมื่อสายตาได้พบเห็นวัตถุที่แตกต่าง หลากหลายสีในวัตถุ ย่อมเกิดความรู้สึกต่าง ๆ ได้แก่ อ่อนหวาน อบอุ่นหรือหนาวเย็น นุ่มนวลหรือแข็งกระด้าง และตื่นเต้น เป็นต้น
........5.3 การเขียนภาพการ์ตูน
สำหรับเด็กนั้นโดยมากมักนิยมเขียนภาพสัตว์ด้วยฝีมือมายา คือจงใจให้ผิดเพี้ยนไปจากของจริงมากมายเกินกว่าปกติ ดูเสมือนว่าเขียนออกมาอย่างหยาบๆ ง่ายๆ แต่ช่างเขียนนั้นเขียนขึ้นโดยความยากลำบากทั้งนั้นทุกรูป แต่เขาจงใจให้มองดูเขียนขึ้นอย่างลวกๆ การให้สีหนังสือเดกมักใช้สีฉูดฉาดบาดตา ภาพการ์ตูนสำหรับเด็กอีกระดับหนึ่ง หมายถึงระดับเด็กอายุ ๑๑ - ๑๖ ปี ระยะนี้การ์ตูนประกอบเรื่องจะต้องมีความปราณีต ขบขัน สวยงาม ตลอดจนกระทั่งฝีมือในการเขียนภาพประกอบจะต้องดีพอ จึงจะสามารถดึงดูดเด็กในวัยนี้ให้สนใจได้ สีสันของภาพประกอบต้องนุ่มนวลมากขึ้น
........5.4 การออกแบบตัวอักษรหัวเรื่อง
วิธีการออกแบบตัวอักษรแบ่งออกเป็น 4 ขั้น
1. ตีเส้นกำกับบรรทัด (Guide line) คือ การขีดเส้นตามแนวนอน ห่างกันตามความสูงของตัวอักษร เว้นด้านล่าง และด้านบน เหลือไว้พอสมควร เพื่อเขียนสระและวรรณยุกต์ เส้นกำกับบรรทัดนี้ควรขีดให้เบาพอมองเห็น เพื่อใช้เป็นแนวร่างตัวอักษรให้มีขนาดตามต้องการ

2. ตีเส้นร่างตามขนาดและจำนวนตัวอักษร ในการออกแบบตัวอักษรลงบริเวณใด เพื่อความเหมาะสมและสวยงาม จึงควรนับจำนวนตัวอักษรที่จะเขียนทั้งหมด แล้วจึงคำนวณเนื้อที่ทั้งหมดสำหรับบรรจุตัวอักษรลงไป แล้วตีเส้นร่างเบา ๆ ตามขนาดและจำนวนตัวอักษรทั้งหมด
3. การร่างตัวอักษร การร่างควรเขียนด้วยเส้นเบา เพื่อสะดวกต่อการลบ เมื่อเกิดการผิดพลาดหรือเมื่องานเสร็จแล้ว จะได้ลบเส้นที่ไม่ต้องการออกได้ง่ายไม่สกปรก
4. การลงสี เมื่อได้แบบตัวอักษรที่แน่นอนแล้วจึงลงสี หรือหมึก ให้เกิดความสวยงามตามต้องการ


หน่วยที่ 6 การสร้างสื่อราคาเยา
........6.1 ความหมาย คุณค่า และประโยชน์ของสื่อราคาเยา
สื่อราคาเยานอกจากจะหมายถึง สื่อที่มีราคาถูกแล้วยังหมายถึงสื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติไม่ต้องซื้อหาด้วยราคาแพง สิ่งที่ครูคิดประดิษฐ์ขึ้นด้วยวัสดุราคาถูก หรือหาได้ง่าย รวมถึงสื่อสิ่งของได้เปล่าจากการแจกจ่ายเผยแพร่ของหน่วยงาน
........6.3 วัสดุกับเทคนิคการออกแบบ
วัสดุการสอน หมายถึงวัสดุทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ครูพึงหามาใช้ประกอบการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งครูผู้สอนส่วนหนึ่งมักจะมองข้ามไป เมื่อนึกถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนสักเรื่องหนึ่ง ก็มักจะนึกถึงเฉพาะสื่อสำเร็จรูป จำพวกรูปภาพ แผนภูมิสไลด์ ที่มีผลิตขายเป็นธุรกิจการค้า ราคาค่อนข้างสูง สิ่งของที่หาได้ง่ายสำหรับการสอนบางเนื้อหา เช่น ใบไม้ ก้อนหิน ดิน ทราย บางครั้งมีคุณค่ายิ่งกว่าสื่อข้างต้นเสียอีก ถ้ารู้จักนำมาใช้อย่างเหมาะสมเพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของจริง ซึ่งเรายอมรับกันว่ามีคุณค่าสูงสุด สำหรับการเรียนการสอน
........6.4 การประมินสื่อการสอนราคาเยา
1. ความจำเป็นด้านเศรษฐกิจของชาติ
2. ฐานะการเงินของโรงเรียน
3. วัสดุอุปกรณ์สำเร็จรูปมีราคาสูง
4. สื่อสำเร็จรูปไม่สอดคล้องกับสภาพชีวิตและสังคม
5 คุณสมบัติของสื่อที่จะส่งผลต่อการเรียนรู้


หน่วยที่ 7 การผลิตสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์
........7.1 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
CAI ย่อมาจากคำว่า COMPUTER-ASSISTED หรือ AIDED INSTRUCTIONคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด
........7.2 การใช้เครือข่ายเพื่อการเรียนการสอน
การจัดตั้งสมาคม APEC เพื่อการศึกษาทางอินเตอร์เนต
ตามกระแสการเปลี่ยนสังคมที่ต้องมีความรู้ใหม่เป็นหลักฐานการเรียนรู้เทคโนโลยีและการเก็บความรูั้ใหม่จึงเป็นสิ่งที่ เราขาดไม่ได้ สถาบันการศึกษาและครูมีบทบาทมากขึ้นเพราะต้องเตรียมการเรียนการสอนเพื่อส่งนักเรียนให้เข้าทำงาน ในสังคมใหม่ สมาคม APEC เพื่อการศึกษาทางอินเตอร์เนตจัดทำไว้เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวของนักเรียน และครู


หน่วยที่ 8 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์


........8.1 ความหมาย คุณค่า และประโยชน์ของสื่อสิ่งพิมพ์
สิ่งพิมพ์ หมายถึง สมุด แผ่นกระดาษหรือวัตถุใดๆที่พิมพ์ขึ้น รวมทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผัง ภาพวาด ภาพระบายสีใบประกาศ แผ่นเสียงหรือสิ่งอื่นใดที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน
........8.2 ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์
จำแนกกว้างๆได้ 4 กลุ่มใหญ่ คือ
1. หนังสือพิมพ์
2.นิตยสารและวารส่าร
3. หนังสือเล่ม
4. สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ
........8.3 ระบบการพิมพ์
ในโลกนี้มีอยู่หลายอย่างค่ะ แต่ที่จะแนะนำนี่เป็นระบบที่นิยมใช้ในบ้านเรา
1. ระบบออฟเซ็ต
2. ระบบซิลค์สกรีน
3. การพิมพ์โรเนียวแบบดิจิตอล

........8.4 การเลือกและการใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการเรียนการสอน
การพิมพ์จึงเป็นวิธีการหนึ่งในการนำมาใช้ผลิตสำเนาเอกสารทางวิชาการซึ่งต้องการปริมาณมาก เช่น หนังสือ ตำราต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน หรือเพื่อใช้เป็นคู่มือ เป็นตำราในการค้นคว้าอ้างอิง ทั้งยังช่วยในการเผยแพร่ ความคิดทางด้าน วิทยาการต่าง ๆ ให้เจริญก้าวหน้าอีกด้วย ในการให้การศึกษาจำเป็นต้องมีเอกสารประกอบการเรียนการสอน เพื่อขยายความรู้และทฤษฎีต่าง ๆ ให้กว้างขวางขึ้น

หลักในการเลือกซื้อ กล้องดิจิตอล

แน่นอนละ คำถามของผู้ที่จะซื้อ กล้องดิจิตอล ก็คือ จะซื้อกล้องรุ่นไหนดี จึงจะเหมาะกับเจ้าของ และใช้งานได้นานๆ ไม่ต้องซื้อใหม่ในอนาคตอันใกล้ เราจึงได้สรุป บัญญัติ 6 ประการในการซื้อกล้องดิจิตอล ดังนี้
1. ถามความต้องการในการใช้งานของตนเองผมเห็นหลายๆ คนเวลาซื้อ กล้องดิจิตอล ก็จะเลือกซื้อแบบที่มันแพงๆ หน่อย เพราะคิดว่ามันต้องดี แต่จากประสบการณ์ของผมแล้วมันก็ไม่จริงไปทั้งหมด ผมจะยกตัวอย่างเพื่อนคนหนึ่งซึ่ง ซื้อกล้อง digital ราคาแพงมาตัวหนึ่ง ราคาหลายหมื่นบาท เป็นกล้องแบบมืออาชีพเลยทีเดียว
แต่ปรากฏว่าเวลาเอาไปใช้งานกลับไม่สะดวก เพราะตัวมันใหญ่เทอะทะ เวลาพกไปไหนก็ลำบาก เวลาถ่ายก็ต้องปรับความละเอียดให้ต่ำลง เพราะถ้าถ่ายที่ความละเอียดสูงสุด ภาพจะมีขนาดใหญ่มาก เวลาเอาลงคอมหรือปรับแต่งก็ช้ามากแถมมันก็ไม่มีความรู้เรื่องการถ่ายรูปเท่าไหร่ ถ่ายแบบอัตโนมัติเป็นอย่างเดียว แบบนี้ก็เรียกว่าเสียเงินไปเปล่าๆ เห็นไหมครับว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องทราบความต้องการของตนเองก่อนว่า ต้องการ กล้องดิจิตอล ไปใช้งานทำอะไร
- ใช้งานทั่วๆไปหมายถึงการนำไปใช้งานในการถ่ายภาพทั่วไป ถ่ายรูปเวลาไปเที่ยว เก็บภาพทั่วๆไป เป็นต้น โดยลักษณะนี้ กล้องก็ไม่จำเป็นต้องมีฟังก์ชั่นพิเศษอะไรมากมาย ความละเอียดก็ซัก 4 ล้าน pixel ก็พอแล้ว
- ใช้ในการทำเว็บไซต์ภาพที่ลงในเว็บไซต์ ปกติก็ไม่ได้ต้องการภาพขนาดใหญ่อยู่แล้ว ปกติซัก 4 ล้าน pixel ก็เหลือเฟือ นอกจากจะนำไปใช้ถ่ายรูปที่ต้องการคุณภาพสูงมากๆ หรือเงินมันเหลือใช้ก็ตามใจ
- ใช้ในการรับจ้างถ่าพภาพตามงานต่างๆในการถ่ายในลักษณะนี้ แน่นอนว่าคงจะต้องใช้กล้องที่ดีหน่อย จริงๆควรจะเป็น กล้องดิจิตอล SLR ด้วยซ้ำ ไม่ใช่ว่ากล้องดิจิตอลแบบ compact ไม่ดีพอ แต่แน่นอน คนจ้างคงอยากจ้างคนที่มีกล้องแบบมืออาชีพมากกว่า ซึ่งควรจะมีความละเอียดประมาณ 5-6 ล้าน pixel
- ใช้ในการทำสิ่งพิมพ์ หรืองานสตูดิโอแน่นอนว่าคุณต้องซื้อกล้อง ดิจิตอล SLR ซักตัว เพื่อที่จะได้ปรับค่าต่างๆ เปลี่ยนเลนส์ แฟลซ หรืออุปกรณ์เสริมอื่นๆได้ตามใจ ความละเอียดก็ไม่ควรต่ำกว่า 5 ล้าน Pixel

2.เลือกคุณสมบัติของกล้องคุณควรรู้จักค่าคุณสมบัติของกล้องเหล่านี้ เวลาไปเลือกซื้อ เพื่อที่จะเลือกกล้องได้เหมาะสมกับความต้องการมากที่สุด
- ความละเอียด
ความละเอียด ขนาดของภาพเมื่อนำไปอัด เหมาะกับ 2 Megapixels 5 x 7 นิ้ว (รูปถ่ายขนาดปกติ) ถ่ายภาพทั่วไป ทำเว็บ 3 Megapixels 8 x 10 นิ้ว ถ่ายภาพทั่วไป งานที่ต้องการคุณภาพพอสมควร ตั้งแต่ 4 Megapixels กระดาษ A4 ขึ้นไป งานสิ่งพิมพ์ งานนิตยสาร งานที่ต้องการคุณภาพของงานสูงๆ
- ความสามารถในการซูมโดยปกติ เราจะเห็นว่ามีการเขียนถึงรูปแบบการซูมอยู่ 2 อย่างคือ Optical zoom กับ Digital zoom โดยจำไว้ว่า ไม่ต้องสนใจกับค่า digital zoom โดยการ zoom แบบนี้เป็นการขยายรูปจากไฟล์ภาพธรรมดา ซึ่งเราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ทำทีหลังได้อยู่แล้ว แต่ให้สนใจค่า Optical zoom ซึ่งเป็นการ Zoom จากเลนส์จริง ซึ่งแน่นอน ยิ่ง zoom ได้มากก็ยิ่งดี
- เรื่องของ Batteryแน่นอน แบตเตอรี่นั้นก็สำคัญมากๆ เพราะหากแบตเตอรี่หมด กล้องดิจิตอล ก็ไม่ต่างจากเครื่องประดับธรรมดาๆ ควรพิจารณาดูด้วยว่าแบตเตอรี่ที่ใช้นั้น เป็นแบบไหน แนะนำอย่างยิ่งให้ใช้แบตเตอรี่แบบที่ชาร์จไฟได้ เพราะจะถ่ายภาพได้นานกว่า และไม่เปลืองสตางค์อีกด้วย อายุการใช้งานก็สำคัญเช่นกัน ควรดูด้วยว่ากล้องรุ่นนั้นเมื่อชาร์จไฟเต็มแล้ว สามารถถ่ายภาพได้กี่ภาพแบตเตอรี่จึงจะหมด โดยปกติก็ไม่ควรน้อยกว่า 150-200 ภาพ เป็นอย่างน้อย
- ความสามารถในการปรับแบบ Manualการปรับค่าแบบ Manual จะอนุญาตให้คุณ สามารถปรับค่าบางอย่างได้เอง เช่น ค่าความกว้างของรูรับแสง ความเร็ว ชัตเตอร์ เป็นต้น ซึ่งถ้าคุณอ่านแล้วไม่รูว่าค่าเหล่านี้คืออะไร ความสามารถในการปรับแบบ Manual นี้ ก็คงไม่จำเป็นสำหรับคุณ
- ขนาด รูปร่าง และน้ำหนักคุณควรจะพิจารณา ขนาด รูปร่าง และน้ำหนักของกล้องด้วยว่าเหมาะสมกับคุณหรือว่าถูกใจคุณรึเปล่า ซึ่งอันนี้คงต้องพิจารณาเอาเองแล้วละครับ

3. ตั้งงบประมาณในการซื้อกล้องจริงๆ แล้วในตอนแรก ผมกะว่าจะเอาข้อนี้เป็นข้อแรกอยู่เหมือนกัน เพราะมันน่าจะสำคัญที่สุด สำหรับคนส่วนใหญ่ เอาเป็นว่าตอนนี้คุณก็คงพอจะรู้แล้ว ว่ากล้องดิจิตอลที่คุณต้องการนั้นควรมีคุณสมบัติยังไง ทีนี้ก็ลองตั้งงบประมาณดูนะครับ ว่าคุณมีเงินที่จะซื้อกล้องเท่าไหร่ และจะซื้อรุ่นไหนที่คุณสมบัติตรงและอยู่ในงบประมาณได้บ้าง อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับเงินในกระเป๋าของแต่ละคนครับ

4. ดูตัวอย่างภาพที่ถ่ายจากกล้องที่ต้องการซื้ออันนี้ก็สำคัญนะครับ จากประสบการณ์ของผมบอกได้เลยว่า บรรดากล้องยี่ห้อดังๆ ทั้งหลายในราคาใกล้เคียงกัน คุณภาพมักไม่ต่างกันเท่าไหร่ แต่ภาพนี่สิ แต่ละยี่ห้อก็จะมีเอกลักษณ์ของตัวเอง บางยี่ห้อสีของรูปดูเป็นธรรมชาติ บางยี่ห้อสีสันสดใส บางยี่ห้อสีโทนออกนุ่มๆ ซึ่งถ้าถามว่าอันไหนสวยกว่ากัน ผมก็ตอบไม่ได้ ดังนั้นอย่าไปฟังใครพูดว่ายี่ห้อไหนสวยกว่ากัน จงดูด้วยตาของตัวเองดีกว่าจะได้ถูกใจคุณที่สุด

5. เปรียบเทียบราคากล้องรุ่นที่คุณสนใจเมื่อคุณทราบแล้วว่จะซื้อกล้องรุ่นไหน ที่สำคัญอย่าลืมดูราคาหลายๆร้าน ซึ่งโดยปกติแล้ว ไม่จำเป็นว่าคุณจะต้องซื้อกับร้านใหญ่ๆหรือว่าต้องซื้อในห้าง เพราะถ้ากรณีรับประกันศูนย์มันก็ไม่ต่างกันอยู่แล้ว ดังนั้นควรพิจารณาร้านที่ขายราคาถูก น่าเชื่อถือ และเดินทางไปที่ร้านสะดวก(ใกล้บ้าน)เวลาของมีปัญหาจะดีกว่า อ้อ ที่สำคัญอย่าลืมดูด้วยว่าของแถมแต่ละร้านมีอะไรบ้าง เพราะบางร้านอาจจะขายถูก เพราะไม่แถมอุปกรณ์ที่จำเป็นบางอย่าง เช่นหน่ายความจำ เป็นต้น จึงควรถามให้แน่ใจก่อน

6. ดูการรับประกันการรับประกันนี้สำคัญมากๆ ครับ เพราะ อุปกรณ์ถ่ายรูปแบบอิเลคทรอนิคมีโอกาสเสียง่ายกว่าอุปกรณ์ถ่ายรูปที่เป็นกลไกที่ไม่ซับซ้อนแบบเดิมๆ ดังนั้นเราควรพิจารณาให้ดี ซึ่งการรับประกันจะมี 3 แบบคือ
- ประกันศูนย์ หมายถึงรับประกันโดยเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าของผลิตภัณฑ์โดยตรง ซึ่งแบบนี้ก็ไม่ต้องพิจารณาอะไรมาก เพราะเค้าจะมีศูนย์ซ่อมและอะไหล่ไว้บริการเวลาเครื่องเสียอยู่แล้ว
- ประกันร้าน แบบนี้หมายถึง ทางร้านนำกล้องเข้ามาขายเอง ไม่ได้ผ่านตัวแทนจำหน่ายโดยตรง จึงได้ราคาถูกกว่า เพราะไม่ต้องกันราคาไว้ตั้งศูนย์บริการหลังการขาย แต่ก็เสี่ยงกว่า ในแบบนี้แน่นอนถ้าเสียทางร้านก็คงต้องเป็นคนรับผิดชอบ ซึ่งก็คงยากมากที่จะซ่อมเร็วกว่าศูนย์ และในบางกรณีอาจโดนโบ้ยได้ (โบ้ยเป็นภาษาจีนแปลว่าไม่รับผิดชอบ) จึงต้องพิจารณาร้านที่จะซื้อให้ดี แนะนำว่าถ้าราคาไม่ถูกกว่ามากนัก ก็ซื้อแบบประกันศูนย์เถอะครับ สบายใจกว่า
- ประกันแบบตัวใครตัวมัน โดยแบบนี้เห็นบางราย นำเข้ามาขายในลักษณะหิ้วเข้ามาจากต่างประเทศ ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้มีอาชีพขายกล้องโดยตรง แน่นอนราคาถูกกว่า(แต่ผมว่าก็ไม่เท่าไหร่) แต่แบบนี้เวลาเสียขึ้นมาคิดหรือว่าเค้าจะหิ้วกล้องของคุณไปที่ต่างประเทศเพื่อเอาไปซ่อมให้ ฝันกลางวันแน่ๆ